บทความนี้จะแนะนําวิธีการดูแลทำความสะอาดส่วนสำคัญของจักรปักด้วยตัวเอง และให้ผู้ใช้เข้าใจกระบวนการทํางานของจักรปักในทุกขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนจะมีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง และปัญหาที่พบบ่อยในแต่ละขั้นตอนพร้อมวิธีแก้ไขด้วยตัวเอง

ปกติแล้วจักรปักไม่เสียง่าย ถ้าผู้ใช้งานดูแลบำรุงรักษาเครื่องอย่างสม่ำเสมอ แม้ใช้งานหนักก็รับได้สบายครับ (จักรปักเล็กควรพักเครื่องหลังใช้งานติดต่อกัน 8 ชั่วโมง)

ในฤดูปักชื่อนักเรียน 1-2 เดือน งานจะทะลักเข้ามามาก จักรต้องทำงานติดต่อกันตลอดทั้งวันทุกวัน ถ้าเราเตรียมความพร้อม เช็คบำรุงจักรปักให้อยู่ในสภาพดีที่สุด บวกกับคอยทำความสะอาดทุกวัน จักรก็จะสามารถรับงานมากๆ ได้ราบรื่นตลอดฤดูกาล

แต่กรณีเครื่องมีปัญหา และผู้ใช้งานทำทุกอย่างตามที่แนะนำในบทความนี้แล้ว ยังแก้ปัญหาไม่ได้ แนะนำว่าต้องส่งศูนย์ซ่อม ให้ช่างที่เชี่ยวชาญดูแลให้นะครับ

การทำความสะอาดจักรปักเล็ก

*ต้องปิดเครื่องและถอดปลั้กไฟก่อนทำความสะอาดทุกครั้ง

มีจุดที่ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ 3 แห่ง ดังนี้ครับ

1. บริเวณทางเดินด้ายบน ด้านหน้า

ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยคือเศษด้ายไปขาด หรือติดบนทางเดินด้ายบน เราสามารถทําความสะอาดโดยใช้ไขควงปากแฉก ขันกรอบที่บังออกมา แล้วค่อยๆ งัดเอากรอบออกมาอย่างระมัดระวัง หลังจากนั้นในใช้แปรง หรือคีมคีบเศษด้ายออกมาให้หมด ใช้ผ้าสอดเข้าไปตามร่องทางเดินด้ายบนเพื่อทําความสะอาดตามทางเดินด้าย แนะนําให้ทําทุกวันเพื่อความสะอาดของทางเดินด้ายบน (ดูจากวีดิโอประกอบ)

2. บริเวณทางเดินด้ายบน ด้านข้าง

ในส่วนนี้จะเป็นการนําเศษด้ายออกจากจุดต่างๆ และทําการหยอดนํ้ามันตามจุดต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถหยอดนํ้ามันได้ด้วยตัวเอง โดยหยอดเพียง 1-2 หยดตรงบริเวณเสาเข็ม ข้อเหวี่ยงด้านบนและด้านล่าง 

แนะนำให้ใช้ **นํ้ามันจักรเฉพาะของ Brother **  (การเปิดฝาน้ำมันจักรครั้งแรก ให้ใช้เข็มหมุดเป็นตัวเจาะเปิดรู เพราะถ้าเราใช้กรรไกรตัด ปากรูของฝาจะใหญ่ น้ำมันจะหยดมากเกินไปครับ)

3. บริเวณด้านล่างและตัวเบ้ากระสวย

จุดนี้เป็นการเปิดฝาครอบด้านล่าง ซึ่งมีชิ้นส่วนที่เป็นไส้กระสวย เบ้ากระสวยและโรตารี่

ทําความสะอาดโดยนําผ้าหรือแปรงมาเช็ดบริเวณโรตารี่ เพื่อเช็ดคราบต่างๆ ออก ถ้ามองเห็นเศษด้ายก็ให้นําออกให้หมด หยอดนํ้ามัน 1-2 หยดตรงแกนกลางของโรตารี่ อาจใช้เครื่องดูดฝุ่นขนาดเล็ก มาช่วยดูดฝุ่นหรือเศษด้ายออก

การทำความสะอาดจักรปักใหญ่

*ต้องปิดเครื่องและถอดปลั้กไฟก่อนทำความสะอาดทุกครั้ง

มีจุดที่ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ 3 แห่ง ดังนี้ครับ2

1. บริเวณทางเดินด้ายบน

ทางเดินด้ายบนของจักรปักใหญ่จะเห็นได้ชัดเจนกว่าจักรเล็ก เราต้องทําความสะอาดฉิ่งหนีบด้ายบนทั้ง 2 จุดบนล่าง โดยทําการง้างแล้วใช้ผ้าเช็ด หรือใช้แปรงปัดฝุ่นออก

เช็คดูให้เดินทางไหมสะดวก ร้อยด้ายครบถูกต้องตามกระบวนการทั้งหมดหรือไม่ บางครั้งเราอาจจะร้อยไม่ผ่านฉิ่งหนีบด้านบนหรือล่าง แรงตึงด้ายก็ไม่พอดี ด้ายขาดบ่อย หรือจักรทำงานไม่ปกติได้ครับ

เราสามารถทําความสะอาดชุดปรับแรงตึงด้ายบนได้ด้วยตัวเอง  (ดูขั้นตอนในวีดิโอ)

2. บริเวณด้านล่าง

ขั้นตอนนี้ให้เรานําเอาเบ้ากระสวยและไส้กระสวยออกมาจากชุดโรตารี่  !!ระวังอย่าให้เบ้ากระสวยตก!!

ทําความสะอาดเบ้ากระสวยโดยใช้กระดาษทิชชูเช็ดตามร่องของเบ้ากระสวย ต่อไปให้เราใช้ประแจ ขันเอาแผ่นเพลทเหล็กออก ใช้แปรงปัดหรือคีมคีบเศษด้ายออกมา ทําความสะอาดตามจุดที่เราสังเกตเห็น หมุนวงล้อด้านหลังไปมาเพื่อทําความสะอาดตามบริเวณโรตารี่

การหยอดน้ำมันสามารถสังเกตจุดหยอดได้บริเวณฝาปิดโรตารี่ โดยแนะนําให้หยอดนํ้ามันเป็นประจําทุกวัน หรือสามารถกดปุ่มเลื่อนตําแหน่งหยอดนํ้ามันได้ตามในคลิปวีดิโอ อีกจุดที่เราสมารถหยอดนํ้ามันได้ด้วยตัวเองคือบริเวณต้นเข็ม (ดูวีดิโอ)

~~~~~

น้ำมันหยอดจักรนั้น ให้ใช้แบบสีขาวของบราเดอร์ เพื่อยืดอายุการใช้งานชิ้นส่วนของเครื่องจักรปักผ้า และคงประสิทธิภาพการทำงานไว้อยู่เสมอ สำหรับจักรปัก Brother รุ่น VR / PR655 / PR670E / PR1000e / PR1050X

สั่งซื้อ กดที่นี่ครับ ….

~~~~~

กระบวนการทํางานของจักรปักคอมพิวเตอร์


ถ้าเราศึกษาและเข้าใจกระบวนการขั้นตอนทํางานของจักรปักคอมพิวเตอร์ เราจะสามารถควบคุมคุณภาพงานและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองอย่างแน่นอน

ขอแบ่งเป็น 7 ขั้นตอน โดยมีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง และปัญหาที่พบบ่อยในแต่ละขั้นตอนพร้อมวิธีแก้ไขด้วยตัวเอง

1. การร้อยด้ายบน

2. การกรอด้ายล่างและติดตั้งเบ้ากระสวย

การกรอด้ายล่างใส่ในไส้กระสวย ทำได้ง่าย แต่มีเคล็ดลับคือต้องกรอให้เรียบเป็นทรงกระบอก ถ้ากรอแล้วด้ายล่างเรียงตัวไม่ความสม่ำเสมอ ไปกองหนาค่อนไปด้านใดด้านหนึ่ง จะทำให้แรงตึงด้ายไม่พอดี ปักออกมามีด้ายขาวขึ้น หรือจักรทำงานไม่ปกติได้ 

การนํากระสวยวางใส่ในเบ้ากระสวย ก็ต้องวางหันปลายด้ายให้ถูกด้าน

**เลือกไส้กระสวยใ่ห้ตรงกับรุ่นของจักรด้วยนะครับ

3. การขึงสะดึง

 
วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องการขึงสะดึง
  • ขึงสะดึงให้แน่นพอเหมาะ ไม่ตึงเกินหรือหย่อนเกินไป
  • ทดสอบโดยใช้นิ้วมือเคาะลงบนสะดึงเบาๆ จะมีเสียงดังคล้ายกลอง
  • ถ้าเป็นผ้าบาง ควรขึงแผ่นรองปักในสะดึงไปพร้อมกับชิ้นงาน
  • ควรขึงสะดึงให้จุด/ตําแหน่งที่จะปักอยู่ตรงกลาง

4. การใช้แผ่นรองปัก

ลือกใช้แผ่นรองปักเพื่อเสริมความหนาแน่นให้กับตัววัสดุที่เราจะปัก (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ครับ…)

งานปักเสื้อนักเรียนแนะนําให้ใช้แบบฉีกที่มีความหนาพอสมควร เนื่องจากโครงสร้างผ้าเสื้อนักเรียนมีความแข็งแรงมากพอควร สามารถใช้แผ่นรองปักสอดลงไปใต้สะดึง โดยตัดให้ใหญ่กว่าพื้นที่ปักเล็กน้อย (ไม่จําเป็นต้องขึงไปพร้อมกับเสื้อนักเรียนให้สิ้นเปลืองแผ่นรองเกินไป)

5. การกําหนดตําแหน่งปัก

ในการปักชื่อนักเรียนแนะนําให้ใช้ไม้บรรทัดวัดจุดปัก ศึกษาวิธีการกำหนดจุดปักสำหรับเสื้อแบบต่างๆ ที่นี่ครับ

6. การส่งลายปักเข้าจักร

ขั้นตอนนําลายปักเข้ามายังจักรปัก จะเซฟไฟล์จากคอมพิวเตอร์ เข้า USB DRIVE แล้วเอามาเสียบกับจักร เพื่อสั่งปัก

  • ไฟล์ที่รองรับจักรปัก Brother จะมีนามสกุล  .PES .DST .PEN
  • แนะนำ USB DRIVE ที่มีความจุไม่มากจนเกินไป
  • ไม่ควรมีไฟล์อื่นที่ไม่ใช่ไฟล์ลายปักอยู่ด้วย เพราะจะทำให้กระบวนการโหลดลายปักเข้าเครื่องนานก่อนปกติ

7. การสั่งให้จักรทําการปัก

การสั่งจักรทํางาน
เป็นขั้นตอนหลังจากที่เราเลือกลายปัก
แล้วกดปุ่มให้จักรเริ่มปัก โดยส่วนที่เคลื่อนไหว
จะมีเข็มที่ปักขึ้นลง และแคร่สดึงที่โยกไป 4 ทิศทาง

วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง

– กดตีนลงทุกครั้งเพื่อให้สามารถกดปุ่มเริ่มต้นได้

– ดูอย่าให้มีสิ่งที่เราไม่การปักสอดอยู่ใต้สดึง อาทิ ชายเสื้อ

– หลีกเลี่ยงพัดลมเป่าที่ตัวจักรโดยตรง

– ห้ามวางจักรชิดผนังมากเกินไป ควรมีบริเวณให้จักรเคลื่อนที่

– หมั่นเช็คน็อตสดึง เขาน็อตขายึดสดึง

– แนะนําเข็มเบอร์ 75/11 หรือ 80/12

7 Responses